สาขาวิชาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
(Postharvest Technology )
ชื่อหลักสูตรปริญญาโท
ไทย : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
อังกฤษ : Master of Science Program in Postharvest Technology
ชื่อปริญญา
ไทย :
ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว)
ชื่อย่อ : วท.ม. (วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว)
อังกฤษ :
ชื่อเต็ม : Master of Science (Postharvest Technology)
ชื่อย่อ : M.S. (Postharvest Technology)
ชื่อหลักสูตรปริญญาเอก
ไทย : วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
อังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Postharvest Technology
ชื่อปริญญา
ไทย :
ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว)
ชื่อย่อ : วท.ด. (วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว)
อังกฤษ :
ชื่อเต็ม : Doctor of Philosophy (Postharvest Technology)
ชื่อย่อ : Ph.D. (Postharvest Technology)
ความสำคัญและที่มาของหลักสูตร
เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว เป็นสาขาวิชาร่วมที่ประกอบด้วยศาสตร์หลายด้านคือ วิทยาศาสตร์ เกษตรศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และอุตสาหกรรมเกษตร การจัดหลักสูตรในสาขาวิชานี้จำเป็นต้องอาศัยความรู้จากหลายสาขาวิชาประกอบ กัน จึงจะมีความครอบคลุมรอบด้านและสามารถนำไปประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพและ เกิดประสิทธิผล
หลักสูตรนี้มุ่งให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวของผลิตผล ทั้งที่เน่าเสียง่าย ( perishable) และที่เก็บได้นาน ( durable) ผู้ศึกษาจึงสามารถมีพื้นฐานระดับปริญญาตรีจากทั้งด้านเกษตรศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และอุตสาหกรรมเกษตร รวมถึงเศรษฐศาสตร์เกษตร แต่ทั้งนี้เมื่อนักศึกษาเข้าศึกษาแล้ว ก็สามารถมีความรู้เฉพาะเจาะจงลึกลงไป โดยอาศัยการทำวิจัยวิทยานิพนธ์ที่สอดคล้องกับพื้นฐานเดิมของตน
บัณฑิตในหลักสูตรนี้ จะเป็นผู้มีความรอบรู้ในเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว สามารถประยุกต์ใช้งานได้จริง และสามารถทำงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาหลังการเก็บเกี่ยวได้เป็นอย่างดี
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
1.วิเคราะห์ปัญหาด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวอย่างเป็นระบบ
2.วิจัยและพัฒนาวิธีการเพื่อแก้ปัญหาหลังการเก็บเกี่ยวได้
3.ประยุกต์ความรู้ที่ได้รับเพื่อป้องกัน หรือลดความเสียหาย หรือสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิตทางการเกษตรหลังการเก็บเกี่ยว
4.จัดการและบริหารงานระบบหลังการเกี่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ
คณะ/ส่วนงานที่ร่วมจัดการเรียนการสอน
คณะเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะอุตสาหกรรมเกษตร
การเรียนการสอน
ระดับปริญญาโท หลักสูตรแผน ก 1 ภาคปกติ
หลักสูตรแผน ก 2 ภาคปกติ
หลักสูตรแผน ข ภาคปกติ
เรียนวันจันทร์ - วันศุกร์ ใช้เวลาเรียนตลอดหลักสูตร 2 ปี หรือ 4 ภาคการศึกษา
ระดับปริญญาเอก หลักสูตรแบบ 1.1 ภาคปกติ
หลักสูตรแบบ 1.2 ภาคปกติ
เป็นหลักสูตรที่ทำวิทยานิพนธ์เพียงอย่างเดียว ( Thesis Only) ใช้เวลาศึกษา 3 ปี หรือ 6 ภาคการศึกษา
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
แบบเหมาจ่าย ภาคการศึกษาละ 21,500 บาท ตามระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร ทั้งในระดับปริญญาโทและเอก
สำนักงาน
สาขาวิชาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
ชั้น 1 อาคารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200
เว็บไซต์สาขาวิชา